บางครั้งทำไมคนเราถึงฝัน?
ฝันร้าย ฝันเห็นงู ฝันถึงแฟนเก่า ฝันเห็นพญานาค ในแต่ละวันเราได้รับข้อมูลต่างๆ มากมาย การเข้ามาของข้อมูลเหล่านั้นซับซ้อนยุ่งเหยิง ด้วยความที่สมองไม่สามารถจดจำทุกอย่างได้หมด ให้เหลือเพียงสิ่งที่จำเป็น ซึ่งจะตกผลึกเป็นความทรงจำที่นึกออกได้ภายหลัง เชื่อว่าไม่มีใครอยากฝันร้าย แต่บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ฝังใจหรือความเครียดในชีวิตประจำวันที่เป็นสาเหตุของฝันร้ายไม่ได้ ดังนั้นควรมีวิธีการผ่อนคลายร่างกายและจิตใจเพื่อป้องกันฝันร้ายทำลายสุขภาพ
การนอนให้เพียงพอคืออะไร?
การนอนจนรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเองและสามารถใช้ชีวิตทำกิจกรรมต่างๆ ได้แบบไม่อ่อนเพลียทั้งวัน ช่วงการหลับแบบ NREM (Non Rapid Eye Movement) สามารถแบ่งออกได้ตาม 3 ขั้นตอน 1) ช่วงเริ่มง่วงนอนเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 5-10 นาทีหลังจากหลับตา สมองเริ่มทำงานช้าลงเริ่มรู้แล้วว่าจะหลับ หากถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาจะไม่ค่อยงัวเงีย ไม่ง่วงหรือรู้สึกว่ายังไม่นอนสามารถลุกมาทำอะไรต่อได้ 2) ช่วงหลับตื้น เป็นช่วงรอยต่อระหว่างเริ่มหลับไปยังหลับลึก ร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะพัก หัวใจเต้นช้าลง อุณหภูมิร่างกายลดลง ความดันโลหิตลดลง ช่วงนี้ใช้เวลาประมาณ 20 ถึง 30 นาที หากถูกปลุกในช่วงนี้จะไม่งัวเงียมากนัก 3) ช่วงนอนหลับลึก สมองทำงานช้าลง หากถูกปลุกช่วงนี้จะรู้สึกงัวเงียมากที่สุด ในช่วงนี้ร่างกายยังหลั่งโกรทฮอร์โมน หรือฮอร์โมนชะลอความแก่
Checklist อาการแบบนี้แสดงว่านอนไม่พอ
- ตื่นมาตอนเช้ารู้สึกไม่สดชื่นอยากนอนต่อ
- ง่วงเหงาหาวนอนระหว่างวัน
- เมื่อมีโอกาสงีบหลับ จะสามารถหลับได้ภายใน 5 นาที
- การตัดสินใจแย่ลง ขาดความยับยั้งชั่งใจ
- หลงลืม ความจำไม่ดี
- สมาธิไม่ดี
- รู้สึกหิวผิดปกติ อยากกินอาหารรสหวาน มัน และ Junk food
- ปวดศีรษะหรืออยากอาเจียน
ทำไมร่างกายและจิตใจมีผลต่อความฝันและการไม่หลับลึก?
สภาวะจิตใจเพื่อการนอน
ปัจจัยสำคัญที่สุดทำให้คนนอนไม่หลับ คือจิตใจ ทางด้านจิตใจที่ทำให้คนนอนไม่หลับเราสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทคือ เครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า ตัวอย่างเช่น ความเครียดจากการทำงาน พรุ่งนี้มีสอบ วันรุ่งขึ้นมีประชุม ต้องรีบไปทำงาน รีบประสบความสำเร็จ ต้องไปตกลงเรื่องเงินกับธนาคาร ไปกล่าวสุนทรพจน์ เป็นต้น
โรคติดมือถือหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า nomophobia เป็นโรคที่ถูกบัญญัติอยู่ในโรคจิตเวชชนิดหนึ่ง บางท่านอาจจะเคยเป็นไหมก่อนนอนต้องเช็คอีเมล ตื่นนอนก็ต้องเช็คอีเมล กังวลเหลือเกินหากสมาร์ทโฟนไม่อยู่ใกล้ตัว หรือถ้า Smartphone อยู่ในที่ปลอดภัยก็ยังคงวนว่ามันจะหายหรือเปล่า ถ้าแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนใกล้หมดเราต้องรีบหาพาวเวอร์แบงค์มาเตรียมพร้อมทันที อยู่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มี Wi-Fi ไม่มีอินเทอร์เน็ตทำให้รู้สึกกังวลมาก
สภาวะร่างกายและโรคประจำตัวเพื่อการนอน
- ออกกำลังกายมากจนเกินไป
- โรคขากระตุกขณะหลับ
- ปริมาณคาเฟอีนสะสมในร่างกายมากจนเกินไป
- วัยทอง
- วัดไซนัส
- ภูมิแพ้
- กรดไหลย้อน
- ไฮเปอร์ไทรอยด์
- อาการปวดข้อปวดหลัง
***อาการเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการนอน ผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์และรักษาตามอาการ***
โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)
โรคนี้เกิดจากการยกตัวของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบและหยุดหายใจ 10 วินาที หรือมากกว่า ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนลดลง สมองจึงตื่นตัวและสั่งให้ร่างกายหายใจแรงขึ้น วงจรนี้จะเกิดขึ้นขณะผู้ป่วยหลับนับสิบๆ ครั้ง ทำให้ผู้ป่วยตื่นกลางดึกและหลับไม่สนิท
Checklist อาการของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- นอนกรน
- เหงื่อออกตอนกลางคืน
- นอนหลับไม่สนิท นอนกระสับกระส่ายมาก
- สะดุ้งตื่นกลางดึกเพราะสำลักเหมือนขัดอากาศหายใจ
- รู้สึกคอแห้งหรือเจ็บคอเมื่อตื่นนอน
- ปวดศีรษะหลังตื่นนอนตอนเช้า
- บุคลิกภาพหรือสมาธิเปลี่ยนไป หลงลืมบ่อย หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ
- ง่วงนอนหรือรู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลียมากในเวลากลางวัน
***หากมีอาการข้างต้นหลายข้อ แนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจด้วยเครื่องมือเฉพาะทาง***
โดยส่วนมากแล้วแพทย์จะให้วิธีรักษาต่อไปนี้
- การปรับพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การลดน้ำหนัก จากการวิจัยพบว่า การลดน้ำหนักลงแม้เพียงร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัวก็สามารถลดจำนวนครั้งของการหยุดหายใจในขณะนอนหลับได้ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และยานอนหลับ เพราะจะทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายขึ้นและยังทำให้หยุดหายใจนานขึ้น การนอนตะแคงก็ช่วยลดความรุนแรงของอาการได้บ้างบางราย และควรหลีกเลี่ยงการอดนอน
- การใช้เครื่องช่วยสร้างแรงดันบวกในทางเดินหายใจ (Continuous Positive Airway Pressure: CPAP) ใช้อุปกรณ์ที่สร้างแรงดันอากาศเข้าไปเปิดทางเดินหายใจ แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีนี้มากที่สุด เพราะตัวเครื่องจะเข้าไปแก้ปัญหาได้ตรงจุดทันที วิธีการคือ ผู้ป่วยต้องใส่อุปกรณ์หน้ากากครอบจมูกหรือปาก จากนั้นจึงเปิดเครื่อง